วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

โรคอ้วน (Obesity)

เมื่อไหร่ถึงจะเรียกว่า “อ้วน” ?

ดัชนีมวลกาย (BMI)

= น้ำหนัก (kg)/ส่วนสูง (m2)

วัดเส้นรอบเอว
  ผู้ชาย ไม่เกิน 90 cm
ผู้หญิง ไม่เกิน 80 cm

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ลักษณะของนันทนาการ

ลักษณะของนันทนาการ
ต้องเป็นกิจกรรม (Activity) คือ ต้องใช้อวัยวะในการกระทำ
รูปแบบหลากหลาย มีขอบเขตไม่จำกัด
เป็นไปด้วยความสมัครใจและมีแรงจูงใจ
เวลาที่ไม่จำกัด
สามารถยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้

Recreation :กิจกรรมและนันทนาการ

Recreation (กิจกรรมและนันทนาการ)
นันทนาการ คือ?
กิจกรรมที่สมัครใจทำในยามว่าง เพื่อให้เกิดความเพลิดเพลิน ผ่อนคลายความตึงเครียดและจิตใจ นันทนาการ การเล่น และความสนุกสนาน
ไม่เป็นงานอาชีพ
ไม่มีผลตอบแทน
ไม่เป็นอบายมุข
                    ไม่มีใครบังคับให้ร่วมกิจกรรม
 ความหมายของนันทนาการ
Re+Fresh , Re + Creation คือ การทำให้สดชื่นหรือการสร้างพลังขึ้นมาใหม่
Activity คือกิจกรรม ในที่นี้หมายถึง กิจกรรมประเภท เกม กีฬา ศิลปะ ดนตรี การแสดงละคร การเดินทางท่องเที่ยว การอยู่ค่ายพักเรม เป็นต้น
Process คือ กระบวนการ เพราะนันทนาการเป็นกระบวนการในการพัฒนาประสบการณ์ หรือพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลหรือสังคม
Social Welfare คือ สวัสดิการสังคม
การท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมนันทนาการอย่างหนึ่ง เพราะ???
กีฬา เป็นกิจกรรมนันทนาการอย่างหนึ่ง เพราะ???

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทดสอบ ดันพื้น 1 นาที (Push – Up 1 Minute) โดย อ.กฤติยา ศุภมิตร

2. การทดสอบ ดันพื้น 1 นาที (Push – Up 1 Minute)
PICT1379_resize
PICT1378_resize
 








1. นอนคว่ำเหยียดขา ปลายเท้าชิดกันแตะพื้น เหยียดแขนตรง ฝ่ามือคว่ำแตะพื้นปลายชี้ไปข้างหน้า ผู้หญิงให้ใช้เข่าแตะพื้น
2. ผ่อนแรงแขนลดลำตัวให้ต่ำลง หน้าอกเกือบชิดพื้น หรือให้ศอกเป็นมุมฉาก แล้วยกตัวขึ้นใหม่เหมือนท่าเริ่ม
3. ให้ทำต่อเนื่องอย่างถูกต้องและรวดเร็วมากที่สุด ภายในเวลา 1 นาที  โดยให้บันทึกเป็นจำนวนครั้งต่อนาที
PICT1360_resizeความอ่อนตัว (Flexibility)
1. การวัดความอ่อนตัวของขา
PICT1361_resize
 







                                                                                                                               
                1. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ต้นขา สะโพก ไหล่
                2. นั่งพื้นเหยียดขาตรง ให้ส้นเท้าทั้งสองข้างอยู่ตรงจุด 15 นิ้ว
                3. แยกเท้าทั้งสองข้างออกห่างกันพอสมควร เหยียดแขนตรง ฝ่ามือชิดกันโดยให้ปลายนิ้วทั้งสองข้างแตะพื้น
                4. ให้ผู้รับการทดสอบ ค่อย ๆ ก้มตัวลง เหยียดมือออกไป ข้างหน้าตามแนวไม้บรรทัด พยายามเหยียดให้ไกลที่สุด โดยเข่าไม่งอ เหยียดค้างไว้ประมาณ 2 วินาที และบันทึกค่าเป็นนิ้ว (ถ้าปลายนิ้วเหยียดไม่ถึงส้นเท้า ค่าจะน้อยกว่า 15 นิ้ว)
2. การวัดความอ่อนตัวของแขน
PICT1373_resize PICT1371_resize
 




                1.  ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ สะบัก หน้าอก และแขน
                2.  ยกแขนซ้ายขึ้นเหนือไหล่ แล้วงอศอกลงให้ฝ่ามือและนิ้วแตะด้านหลังมากที่สุด (คว่ำมือ)
                3.  แขนขวางอศอกขึ้นแนบหลังแล้วยกให้สูงที่สุด (หงายมือ) พยายามให้นิ้วและมือทั้งสองข้างใกล้กันหรือทับกันมากที่สุด (มือซ้ายทับมือขวา) และให้ทำค้างไว้
                4. วัดระยะทางปลายนิ้วกลางมือทั้งสองข้าง ถ้าแตะกันพอดีระยะทางเป็น 0 ถ้านิ้วหรือมือทับกันระยะทางเป็น +  ซม.  ถ้านิ้วแตะไม่ถึงกันระยะทางเป็น -  ซม.
                5. วิธีนี้เรียกว่า ซ้ายอยู่บน(รูปซ้าย)สามารถสลับเปลี่ยนมือด้านตรงข้ามเป็นขวาอยู่บน
ความอดทนระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
(Cardiovascular and Respiratory Endurance)
PICT1384_resize1. การทดสอบ ก้าว ขึ้น ลง 3 นาที
PICT1387_resize PICT1386_resize PICT1385_resize
 





1. ให้ผู้รับการทดสอบอบอุ่นร่างกาย

2. ให้ผู้รับการทดสอบก้าวขึ้น-ลง กล่องหรือเก้าอี้สูง 1 ฟุต เมื่อครบ 3 นาที จับชีพจรบันทึกเป็น ครั้ง / นาที (ทศนิยมสองตำแหน่ง)

การทดสอบสมรรถภาพ

การทดสอบสมรรถภาพ
           วรศักดิ์ เพียรชอบ (2527 : 98) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่าเป็นความสามารถของร่างกายในการที่จะในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวัน    ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีความเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป และสามารถสงวนและถนอมกำลังไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และใช้เวลาว่างเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในชีวิตของตนเองด้วย
จรวยพร ธรณินทร์ (2534 : 6) ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถในการทำงานและเคลื่อนไหวของร่างกายได้ยาวนาน ไม่เหนื่อยง่าย ซึ่งสมรรถภาพทางกายประกอบด้วยความแข็งแรง ความอดทน ความอ่อนตัว ความคล่องตัว พละกำลัง และความสมดุลของกล้ามเนื้อ.
สัดส่วนของร่างกาย  (Body composition)
1. การทดสอบ  ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) (BMI)
       1. ให้ผู้ทดสอบถอดรองเท้า
      2. ยืนตรงส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกออกเล็กน้อยโดยหัวเข่าด้านในชนกันพอดี หลังแนบแกนวัด
ความสูง

          1.บอกข้อมูลพื้นฐานก่อนการชั่งน้ำหนัก (อายุ/ส่วนสูง)
2. ถอดรองเท้าเพื่อชั่งน้ำหนักและบันทึกผล  
วิธีคำนวณ คือ   น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร)2
2. การทดสอบ  สัดส่วนรอบเอว / รอบสะโพก (Waist to Hip Ratio) (WHR)

การวัดรอบเอว ให้วัดส่วนเว้าที่สุดของเอว (มักอยู่เหนือสะดือเล็กน้อย) แต่ถ้าไม่มีส่วนเว้าให้วัดรอบตามแนวสะดือ ห้ามแขม่วท้องหรือเบ่งท้องตึง

วัดรอบบริเวณกึ่งกลางสะโพก หรือแนวของ หัวกระดูกต้นขา(กระดูกที่ยื่นออกมามากที่สุด)
วิธีคำนวณ คือ  รอบเอว / รอบสะโพก
ความแข็งแรงและอดทนของระบบกล้ามเนื้อ
 (Muscular Strength and Muscular Endurance
1. การทดสอบ นอนยกตัวขึ้น 1 นาที (Abdominal Curls 1 Minute)

     1. นอนหงายกับพื้น ชันเข่าตั้งขึ้น ส้นเท้าทั้งสองห่างจากก้นประมาณ 12 นิ้ว
     2. เหยียดแขนราบพื้น ให้ปลายนิ้วทั้งสองวางชิดพื้น ชี้ไปทางปลายเท้า (อยู่เลยก้นเล็กน้อย)
     3. จากนั้นให้ยกศีรษะและไหล่ขึ้นพร้อมกับเลื่อนปลายนิ้วมือไประยะทาง 3 นิ้ว ซึ่งจะมีแถบแสดงระยะกำกับ  จากนั้นผ่อนแรงให้ศีรษะและไหล่ลงพื้น  แล้วยกขึ้นใหม่
     4. ทำต่อเนื่องอย่างถูกต้องและรวดเร็วมากที่สุด ภายในเวลา 1 นาที บันทึกจำนวนครั้งต่อนาที

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 1 พลศึกษา (Physical Education)

บทที่ 1
            พลศึกษา (Physical Education)


            พลศึกษา (Physical Education) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่อยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์และมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกหลายแขนง ซึ่งพลศึกษาในสมัยโบราณยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่จะแฝงอยู่ในการดำรงชีวิต ปัจจุบันมนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด เช่น การหาอาหาร การต่อสู้สัตว์ร้าย และภัยธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต และความเจริญเติบโตนี้เองเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคม จนมีคำกล่าวว่า “ผู้ให้กำเนิดชีวิต คือการเคลื่อนไหว”
ขอบเขตของพลศึก
             กิจกรรมพลศึกษา ต้องเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาระบบอวัยวะของเด็กที่มีมาตั้งแต่เกิด เช่น การเดิน การวิ่การกระโดด ขว้างปา ห้อยโหน ฯลฯ ให้มีการเจริญพัฒนาการอย่างถูกต้องสมส่วน ด้วยเหตุนี้กิจกรรมพลศึกษา จึงประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. เกม (Game) เป็นกิจกรรมการเล่นอย่างง่าย ๆ ไม่มีกฎกติกามากนัก มีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายได้ตามสมควร เกมบางประเภทสามารถนำมาใช้กับผู้ใหญ่ได้อย่างสนุกสนาน
2. กิจกรรมกีฬา (Sport) เป็นกิจกรรมใหญ่ที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย กิจกรรมกีฬา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
                2.1 กีฬาในร่ม (Indoor Sport) ได้แก่ประเภทกีฬาที่ไม่เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนัก แต่จะเน้นเรื่องความสนุกสนาน และมักจะนิยมเล่นภายในอาคารหรือโรงยิม เช่น เทเบิลเทนนิส ยิมนาสติก ฯลฯ
                2.2 กีฬากลางแจ้ง (Outdoor Sport) ได้แก่ประเภทกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่หนักและมักจะเล่นภายนอกอาคาร เช่น ฟุตบอล ขี่ม้า พายเรือ วิ่ง ฯลฯ
3. กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic Activity) ได้แก่กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้เสียงเพลงหรือดนตรีเป็นส่วนประกอบ
4. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ (Body Conditioning) เป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อรักษาหรือเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เช่น การดึงข้อ ดันพื้น ลุก-นั่ง ฯลฯ
5. กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor Activity) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไปกระทำตามภูมิประเทศที่น่าสนใจ เช่น การปีนเขา เดินทางไกล ทัศนาจร ค่ายพักแรม ฯลฯ
6. กิจกรรมแก้ไขความพิการ (Adaptive Activity) เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความพิการทางร่างกาย