บทที่ 1
พลศึกษา (Physical
Education)
พลศึกษา (Physical Education) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่อยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์และมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่น
ๆ อีกหลายแขนง ซึ่งพลศึกษาในสมัยโบราณยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน
แต่จะแฝงอยู่ในการดำรงชีวิต ปัจจุบันมนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด เช่น
การหาอาหาร การต่อสู้สัตว์ร้าย และภัยธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น
มนุษย์จึงต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต
และความเจริญเติบโตนี้เองเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคม
จนมีคำกล่าวว่า “ผู้ให้กำเนิดชีวิต คือการเคลื่อนไหว”
ขอบเขตของพลศึก
กิจกรรมพลศึกษา ต้องเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาระบบอวัยวะของเด็กที่มีมาตั้งแต่เกิด
เช่น การเดิน การวิ่การกระโดด ขว้างปา ห้อยโหน ฯลฯ ให้มีการเจริญพัฒนาการอย่างถูกต้องสมส่วน
ด้วยเหตุนี้กิจกรรมพลศึกษา จึงประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. เกม (Game) เป็นกิจกรรมการเล่นอย่างง่าย ๆ ไม่มีกฎกติกามากนัก
มีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน
และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายได้ตามสมควร เกมบางประเภทสามารถนำมาใช้กับผู้ใหญ่ได้อย่างสนุกสนาน
2. กิจกรรมกีฬา (Sport)
เป็นกิจกรรมใหญ่ที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย กิจกรรมกีฬา
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
2.1 กีฬาในร่ม (Indoor Sport) ได้แก่ประเภทกีฬาที่ไม่เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนัก
แต่จะเน้นเรื่องความสนุกสนาน และมักจะนิยมเล่นภายในอาคารหรือโรงยิม เช่น
เทเบิลเทนนิส ยิมนาสติก ฯลฯ
2.2 กีฬากลางแจ้ง (Outdoor Sport) ได้แก่ประเภทกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่หนักและมักจะเล่นภายนอกอาคาร
เช่น ฟุตบอล ขี่ม้า พายเรือ วิ่ง ฯลฯ
3. กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic
Activity) ได้แก่กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้เสียงเพลงหรือดนตรีเป็นส่วนประกอบ
4. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ
(Body Conditioning) เป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อรักษาหรือเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง
เช่น การดึงข้อ ดันพื้น ลุก-นั่ง ฯลฯ
5. กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor
Activity) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไปกระทำตามภูมิประเทศที่น่าสนใจ
เช่น การปีนเขา เดินทางไกล ทัศนาจร ค่ายพักแรม ฯลฯ
6. กิจกรรมแก้ไขความพิการ
(Adaptive Activity) เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความพิการทางร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น