วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทดสอบ ดันพื้น 1 นาที (Push – Up 1 Minute) โดย อ.กฤติยา ศุภมิตร

2. การทดสอบ ดันพื้น 1 นาที (Push – Up 1 Minute)
PICT1379_resize
PICT1378_resize
 








1. นอนคว่ำเหยียดขา ปลายเท้าชิดกันแตะพื้น เหยียดแขนตรง ฝ่ามือคว่ำแตะพื้นปลายชี้ไปข้างหน้า ผู้หญิงให้ใช้เข่าแตะพื้น
2. ผ่อนแรงแขนลดลำตัวให้ต่ำลง หน้าอกเกือบชิดพื้น หรือให้ศอกเป็นมุมฉาก แล้วยกตัวขึ้นใหม่เหมือนท่าเริ่ม
3. ให้ทำต่อเนื่องอย่างถูกต้องและรวดเร็วมากที่สุด ภายในเวลา 1 นาที  โดยให้บันทึกเป็นจำนวนครั้งต่อนาที
PICT1360_resizeความอ่อนตัว (Flexibility)
1. การวัดความอ่อนตัวของขา
PICT1361_resize
 







                                                                                                                               
                1. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณหลัง ต้นขา สะโพก ไหล่
                2. นั่งพื้นเหยียดขาตรง ให้ส้นเท้าทั้งสองข้างอยู่ตรงจุด 15 นิ้ว
                3. แยกเท้าทั้งสองข้างออกห่างกันพอสมควร เหยียดแขนตรง ฝ่ามือชิดกันโดยให้ปลายนิ้วทั้งสองข้างแตะพื้น
                4. ให้ผู้รับการทดสอบ ค่อย ๆ ก้มตัวลง เหยียดมือออกไป ข้างหน้าตามแนวไม้บรรทัด พยายามเหยียดให้ไกลที่สุด โดยเข่าไม่งอ เหยียดค้างไว้ประมาณ 2 วินาที และบันทึกค่าเป็นนิ้ว (ถ้าปลายนิ้วเหยียดไม่ถึงส้นเท้า ค่าจะน้อยกว่า 15 นิ้ว)
2. การวัดความอ่อนตัวของแขน
PICT1373_resize PICT1371_resize
 




                1.  ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ สะบัก หน้าอก และแขน
                2.  ยกแขนซ้ายขึ้นเหนือไหล่ แล้วงอศอกลงให้ฝ่ามือและนิ้วแตะด้านหลังมากที่สุด (คว่ำมือ)
                3.  แขนขวางอศอกขึ้นแนบหลังแล้วยกให้สูงที่สุด (หงายมือ) พยายามให้นิ้วและมือทั้งสองข้างใกล้กันหรือทับกันมากที่สุด (มือซ้ายทับมือขวา) และให้ทำค้างไว้
                4. วัดระยะทางปลายนิ้วกลางมือทั้งสองข้าง ถ้าแตะกันพอดีระยะทางเป็น 0 ถ้านิ้วหรือมือทับกันระยะทางเป็น +  ซม.  ถ้านิ้วแตะไม่ถึงกันระยะทางเป็น -  ซม.
                5. วิธีนี้เรียกว่า ซ้ายอยู่บน(รูปซ้าย)สามารถสลับเปลี่ยนมือด้านตรงข้ามเป็นขวาอยู่บน
ความอดทนระบบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิต
(Cardiovascular and Respiratory Endurance)
PICT1384_resize1. การทดสอบ ก้าว ขึ้น ลง 3 นาที
PICT1387_resize PICT1386_resize PICT1385_resize
 





1. ให้ผู้รับการทดสอบอบอุ่นร่างกาย

2. ให้ผู้รับการทดสอบก้าวขึ้น-ลง กล่องหรือเก้าอี้สูง 1 ฟุต เมื่อครบ 3 นาที จับชีพจรบันทึกเป็น ครั้ง / นาที (ทศนิยมสองตำแหน่ง)

การทดสอบสมรรถภาพ

การทดสอบสมรรถภาพ
           วรศักดิ์ เพียรชอบ (2527 : 98) ได้ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่าเป็นความสามารถของร่างกายในการที่จะในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ในชีวิตประจำวัน    ในสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่มีความเหน็ดเหนื่อยจนเกินไป และสามารถสงวนและถนอมกำลังไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน และใช้เวลาว่างเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงในชีวิตของตนเองด้วย
จรวยพร ธรณินทร์ (2534 : 6) ให้ความหมายของสมรรถภาพทางกายเอาไว้ว่า
สมรรถภาพทางกาย หมายถึง ความสามารถในการทำงานและเคลื่อนไหวของร่างกายได้ยาวนาน ไม่เหนื่อยง่าย ซึ่งสมรรถภาพทางกายประกอบด้วยความแข็งแรง ความอดทน ความอ่อนตัว ความคล่องตัว พละกำลัง และความสมดุลของกล้ามเนื้อ.
สัดส่วนของร่างกาย  (Body composition)
1. การทดสอบ  ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) (BMI)
       1. ให้ผู้ทดสอบถอดรองเท้า
      2. ยืนตรงส้นเท้าชิด ปลายเท้าแยกออกเล็กน้อยโดยหัวเข่าด้านในชนกันพอดี หลังแนบแกนวัด
ความสูง

          1.บอกข้อมูลพื้นฐานก่อนการชั่งน้ำหนัก (อายุ/ส่วนสูง)
2. ถอดรองเท้าเพื่อชั่งน้ำหนักและบันทึกผล  
วิธีคำนวณ คือ   น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ความสูง (เมตร)2
2. การทดสอบ  สัดส่วนรอบเอว / รอบสะโพก (Waist to Hip Ratio) (WHR)

การวัดรอบเอว ให้วัดส่วนเว้าที่สุดของเอว (มักอยู่เหนือสะดือเล็กน้อย) แต่ถ้าไม่มีส่วนเว้าให้วัดรอบตามแนวสะดือ ห้ามแขม่วท้องหรือเบ่งท้องตึง

วัดรอบบริเวณกึ่งกลางสะโพก หรือแนวของ หัวกระดูกต้นขา(กระดูกที่ยื่นออกมามากที่สุด)
วิธีคำนวณ คือ  รอบเอว / รอบสะโพก
ความแข็งแรงและอดทนของระบบกล้ามเนื้อ
 (Muscular Strength and Muscular Endurance
1. การทดสอบ นอนยกตัวขึ้น 1 นาที (Abdominal Curls 1 Minute)

     1. นอนหงายกับพื้น ชันเข่าตั้งขึ้น ส้นเท้าทั้งสองห่างจากก้นประมาณ 12 นิ้ว
     2. เหยียดแขนราบพื้น ให้ปลายนิ้วทั้งสองวางชิดพื้น ชี้ไปทางปลายเท้า (อยู่เลยก้นเล็กน้อย)
     3. จากนั้นให้ยกศีรษะและไหล่ขึ้นพร้อมกับเลื่อนปลายนิ้วมือไประยะทาง 3 นิ้ว ซึ่งจะมีแถบแสดงระยะกำกับ  จากนั้นผ่อนแรงให้ศีรษะและไหล่ลงพื้น  แล้วยกขึ้นใหม่
     4. ทำต่อเนื่องอย่างถูกต้องและรวดเร็วมากที่สุด ภายในเวลา 1 นาที บันทึกจำนวนครั้งต่อนาที

วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บทที่ 1 พลศึกษา (Physical Education)

บทที่ 1
            พลศึกษา (Physical Education)


            พลศึกษา (Physical Education) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งที่อยู่บนรากฐานทางวิทยาศาสตร์และมีความเกี่ยวข้องกับศาสตร์แขนงอื่น ๆ อีกหลายแขนง ซึ่งพลศึกษาในสมัยโบราณยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน แต่จะแฝงอยู่ในการดำรงชีวิต ปัจจุบันมนุษย์ต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด เช่น การหาอาหาร การต่อสู้สัตว์ร้าย และภัยธรรมชาติตลอดจนสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น มนุษย์จึงต้องเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโต และความเจริญเติบโตนี้เองเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของชีวิตและสังคม จนมีคำกล่าวว่า “ผู้ให้กำเนิดชีวิต คือการเคลื่อนไหว”
ขอบเขตของพลศึก
             กิจกรรมพลศึกษา ต้องเป็นกิจกรรมที่เคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาระบบอวัยวะของเด็กที่มีมาตั้งแต่เกิด เช่น การเดิน การวิ่การกระโดด ขว้างปา ห้อยโหน ฯลฯ ให้มีการเจริญพัฒนาการอย่างถูกต้องสมส่วน ด้วยเหตุนี้กิจกรรมพลศึกษา จึงประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้
1. เกม (Game) เป็นกิจกรรมการเล่นอย่างง่าย ๆ ไม่มีกฎกติกามากนัก มีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนาน และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของร่างกายได้ตามสมควร เกมบางประเภทสามารถนำมาใช้กับผู้ใหญ่ได้อย่างสนุกสนาน
2. กิจกรรมกีฬา (Sport) เป็นกิจกรรมใหญ่ที่นิยมเล่นกันอย่างแพร่หลาย กิจกรรมกีฬา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
                2.1 กีฬาในร่ม (Indoor Sport) ได้แก่ประเภทกีฬาที่ไม่เน้นการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างหนัก แต่จะเน้นเรื่องความสนุกสนาน และมักจะนิยมเล่นภายในอาคารหรือโรงยิม เช่น เทเบิลเทนนิส ยิมนาสติก ฯลฯ
                2.2 กีฬากลางแจ้ง (Outdoor Sport) ได้แก่ประเภทกีฬาที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่หนักและมักจะเล่นภายนอกอาคาร เช่น ฟุตบอล ขี่ม้า พายเรือ วิ่ง ฯลฯ
3. กิจกรรมเข้าจังหวะ (Rhythmic Activity) ได้แก่กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยใช้เสียงเพลงหรือดนตรีเป็นส่วนประกอบ
4. กิจกรรมทดสอบสมรรถภาพ (Body Conditioning) เป็นกิจกรรมที่กระทำเพื่อรักษาหรือเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง เช่น การดึงข้อ ดันพื้น ลุก-นั่ง ฯลฯ
5. กิจกรรมนอกเมือง (Outdoor Activity) เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยไปกระทำตามภูมิประเทศที่น่าสนใจ เช่น การปีนเขา เดินทางไกล ทัศนาจร ค่ายพักแรม ฯลฯ
6. กิจกรรมแก้ไขความพิการ (Adaptive Activity) เป็นกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายโดยมีจุดประสงค์เพื่อรักษาความพิการทางร่างกาย